messager
 
เทศบาลตำบลไชยวาน call ข้อมูลการติดต่อ


เทศบาลตำบลไชยวาน
อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
info_outline ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล เรียกว่า “ สุขาภิบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ” จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๒ เดิมตั้งอยู่ที่ กองร้อย อ.ส. ภายในพื้นที่ว่าการอำเภอไชยวาน โดยมีนายอำเภอไชยวาน เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลไชยวานและมี นายปริญญา ประสมศรี เป็นรองประธานกรรมการสุขาภิบาลไชยวาน และให้มีเขตดังต่อไปนี้ ด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ตามแนวเส้นตั้งฉาก ไปทางทิศตะวันตก ระยะ ๕๐๐ เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ตามแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศเหนือ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร จากหลักขตที่ ๑ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัด ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ฟากตะวันออก ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน บรรจบกับทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศเหนือ ระยะ ๑,๐๐๐ เมตร จากหลักขตที่ ๒ เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ไปทางทิศตะวันออกผ่านห้วยเอเฮ ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเอเฮ ฝั่งตะวันออก ด้านตะวันออกจากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นเลียบริมห้วยเอเฮ ฝั่งตะวันออกและฝั่งเหนือ ไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก ถึงหลักเขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเอเฮ ฝั่งเหนือ ตรงจุดที่อยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ที่จุดที่อยู่ห่างจากจุดศุนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ไชยวาน -คำบอน ตามแนวถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ไปทางทิศตะวันออก ระยะ ๘๐๐ เมตร จากหลักขตที่ ๔ เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ฟากเหนือ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางถนน ไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ไปทางทิศตะวันออก ระยะ ๘๐๐ เมตร จากหลักขตที่ ๕ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านถนนไปบ้านหนองแซง ถึงหลักเขตที่ ๖ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนไปบ้านหนองแซง ฟากตะวันตกที่จุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ถนนไปบ้านหนองแซง บรรจบกับถนน รพช. อุดรธานี ๑๑๐๑๐ ไชยวาน -คำบอน ตามแนวถนนไปบ้านหนองแซง ไปทางทิศใต้ ระยะ ๑,๒๐๐ เมตร ด้านใต้ จากหลักเขตที่ ๖เป็นเส้นตรงไปทางทิศะวันตกเฉียงเหนือผ่านห้วยกุดลมและทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ถึงหลักเขตที่ ๗ ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง)-ศรีธาตุ ตัดกับ ถนนไปทางหนองแวง ตามแนวทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ไปทางทิศใต้ ระยะ ๒,๒๐๐ เมตร จากหลักเขตที่ ๗ เป็นเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ไปทางทิศตะวันตก ระยะ ๕๐๐ เมตร ถึงหลักเขตที่ ๘ ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ ๘ เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๒๓๙ แยกทางหลวงหมายเลข ๒๒ (บ้านต้อง) - ศรีธาตุ ระยะ ๕๐๐ เมตร ไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านถนนไปบ้านหนองแวงและถนนไปบ้านคำยาง บรรจบหลักเขตที่ ๑ ต่อมามีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลทั้งหมดทั่วประเทศ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๙ ก ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ เป็นผลให้สุขาภิบาลไชยวานเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น “ เทศบาลไชยวาน ” ตั้งแต่ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ เป็นต้นมา และเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ เทศบาลตำบลไชยวาน ได้ปรับขนาดเทศบาล จากเทศบาลขนาดเล็กเป็นเทศบาลขนาดกลาง โดยมีพื้นที่ทั้งสิ้น ๑๐.๔ ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ ๑๙๑ หมู่ที่ ๒ บ้านไชยวาน ถนนไชยวาน - ศรีธาตุ อยู่ห่างจากจังหวัดอุดรธานี ๖๔ กิโลเมตร เทศบาลตำบลไชยวาน มีทั้งหมดจำนวน ๑๐ หมู่บ้าน โดยมีนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลไชยวาน ดังนี้ ๑. นายสมพงษ์ ศรีเข่ง (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๔) ๒. นายสมศรี เสียงเลิศ (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๔– ๒๕๔๕) ๓. นายอุทัย แสนแก้ว (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๕– ๒๕๕๐) ๔. นายขุนศึก ชาวสระใคร (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๕๐– ๒๕๕๓) ๕. นายศิรสิทธิ์ สมศรีทอง (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๕๔–๒๕๖๓) ๖. นายศิรสิทธิ์ สมศรีทอง (ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๖๔–ปัจจุบัน) ข้อมูลทั่วไป ๑.๑ ที่ตั้ง สำนักงานเทศบาลตำบลไชยวาน ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของจังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี ประมาณ ๖๒ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้ Ø ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี , อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร Ø ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอ อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี Ø ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี , อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร Ø ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกู่แก้ว , อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ๑.๒ เนื้อที่ มีเนื้อที่ ๓๒๖.๑๕๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒๐๓,๘๔๗ ไร่ พื้นที่การเกษตร ประมาณ ๑๔๑,๕๑๕ ไร่ ๑.๓ ภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูง ลักษณะพื้นที่เป็นป่าละเมาะสลับกับทุ่งนา มีความลาดชันจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือ มีลำน้ำและลำห้วยที่สำคัญ ๒ สายไหลผ่าน ได้แก่ ๑) ลำห้วยสงคราม ไหลผ่านทิศตะวันออกของอำเภอไชยวาน มีลำห้วยกระจายเต็มพื้นที่ตำบลไชยวาน และตำบลคำเลาะ ๒) ลำห้วยไพจานใหญ่ เป็นลำห้วยขนาดใหญ่สายหลักไหลผ่านพื้นที่ตำบลโพนสูงและตำบลหนองหลัก ๑.๓ การปกครอง แบ่งออกเป็น ๑๐ หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านไชยวาน , หมู่ที่ ๒ , หมู่ที่ ๓ , หมู่ที่ ๗ บ้านหนองตูม , หมู่ที่ ๘ บ้านเพียปู่ , หมู่ที่ ๙ บ้านหนองเรือ , หมู่ที่ ๑๑ บ้านค่ายเสรี , หมูที่ ๑๒ บ้านป่าตาล , หมูที่ ๑๓ และหมูที่ ๑๗ ๑.๔ การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง สวนยางพารา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป ๑.๕ แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ ๑. วัดป่าสันติกาวาส บ้านหนองตูม หมู่ที่ ๗ ตำบลไชยวาน ๒. วัดกู่แก้ววิทยาราม บ้านเพียปู่ หมู่ที่ ๘ ตำบลไชยวาน (มีพระพุทธรูปสำคัญและวัตถุโบราณจำนวนมากที่ได้รับการขึ้นะเบียนโบราณวัตถุกับกรมศิลปากร) ๓. สวนสาธารณะหนองไชยวาน บ้านไชยวาน หมู่ที่ ๒ , หมู่ที่ ๑๑ ตำบลไชยวาน ๑.๖ ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม อยู่ในสังคมที่ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีตามบรรพบุรุษประเพณีที่สำคัญอละมีการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร คือภาษาอีสาน สิ่งที่โดดเด่นในชุมชน คือ ผ้าพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์จักสาน ผลิตภัณฑ์จากกก ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่นในชุมชนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน ทั้ง ๑๒ เดือน ที่สำคัญคือ ทำบุญตักบาตรขึ้นปีใหม่ที่วัดป่าสันติกาวาส บุญเดือนสาม บุญข้าวจี่ บุญพระเวสสันดรชาดก ประเพณีสรงกู่ที่วัดกู่แก้ว บุญบั้งไฟ บุญเข้าพรรษา บุญกฐิน ลอยกระทง และอื่นๆ